อุปกรณ์เสียงสตูดิโอสำหรับมืออาชีพ
6 ข้อควรรู้ การเลือกไมค์ยังไง ให้เหมาะสมกับงาน PODCAST สำหรับมือใหม่
ในยุคปัจจุบันมีทั้งรายการข่าวสาร รายการพูดคุยในเรื่องราวต่าง ๆ ให้เลือกรับชมและรับฟังในช่องทางมากมาย ทั้งยังสามารถเลือกเนื้อหาเฉพาะเจาะจงได้เองด้วย โดยเฉพาะรายการ Podcast ในแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องง่ายมากสำหรับการเป็นผู้จัดรายการ เพราะเพียงมีคอมพิวเตอร์ มือถือ และไมค์ สักตัวก็สามารถทำพ็อดคาสท์ได้แล้ว แต่รู้หรือไม่ครับว่าสิ่งที่สำคัญในการจัดพ็อดคาสท์นั้น คือ เรื่องเสียง หากเสียงติดขัด หรือเสียงได้ยินไม่ชัด ผู้ฟังอาจจะเปลี่ยนช่องทันที ดังนั้นการเลือกไมค์คุณภาพ ที่ให้เสียงคมชัด จะช่วยให้เนื้อหาของผู้พูดน่ารับฟัง และน่าติดตามมากขึ้น ซึ่งวันนี้มี 6 ข้อควรรู้ ในการเลือกไมค์ยังไง ให้เหมาะสมกับงาน PODCAST สำหรับมือใหม่
1. การตอบสนองความถี่
การตอบสนองความถี่เป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากไมค์แต่ละแบบในตลาดจะรองรับคลื่นความถี่ที่แตกต่างกันไปตามการใช้งาน โดยทั่วไปแล้วไมค์พอดแคสท์คลื่นความถี่จะรับอยู่ที่ 20-20kHz เป็นคลื่นความที่สามารถรับได้ทุกย่านเสียง ทั้งเสียงพูด พ็อดคาสท์ พากย์เสียง ร้องเพลง หรือเสียงดนตรี แต่ถ้าค่าความถี่เกิน 20kHz เป็นต้นไป ไมโครโฟนจะไม่รับเสียงนั้นเลย
2. รับเสียงได้ทั้งระยะใกล้และไกล
ข้อนี้สำคัญมากหากจะใช้ไมค์สำหรับทำพ็อดคาสท์ เพราะในการจัดรายการพ็อดคาสท์ บางทีเราไม่ได้จัดรายการเพียงคน มีคนร่วมพูดคุยด้วย ไมค์ที่ใช้ควรรับเสียงคนหลาย ๆ คนพร้อมกันได้ นอกจากนี้ การรับเสียงที่ดี ให้การบันทึกเสียงแล้ว ให้คุณภาพเสียงที่ดี โดยไม่ตัดความถี่จากผู้พูดจนกลายเป็นพูดเหมือนอยู่ในกล่อง
3. เลือกชนิดของไมโครโฟนให้เหมาะกับการใช้งาน
จริง ๆ แล้วชนิดของไมค์มีหลายประเภท แต่ไมค์ประเภทหลัก ๆ ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ ไดนามิกส์ Dynamic และ คอนเดนเซอร์ Condenser แต่ละแบบมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน แบบแรกไมค์ Dynamic ออกแบบมาสำหรับการบันทึกเสียงโดยเฉพาะ มีความไวในการรับเสียงต่ำ ดังนั้นเสียงรบกวนจากรอบข้างได้น้อยมาก หากอยากได้เสียงชัด ปากของผู้พูดจะต้องเข้าใกล้ไมค์ ซึ่งจะเป็นตำแหน่งรับเสียงที่ดีที่สุด
และไมค์แบบ Condenser ออกแบบมาให้มีความไวต่อการรับเสียงสูงมาก เก็บรายละเอียดเสียงได้ครอบคลุม ไม่จำเป็นต้องพูดใกล้กับไมค์ ในขณะเดียวกันก็เป็นข้อเสียเพราะการที่รับเสียงได้ละเอียด เสียงรบกวนก็จะเข้าไปได้ง่ายด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เสียงแอร์ เสียงหายใจ เป็นต้น ดังนั้นการจัดการเรื่องเสียงรบกวนเป็นสิ่งสำคัญมากในไมค์ประเภทนี้
4. รูปแบบการรับเสียง
ไมค์แต่ละตัวจะมีรูปแบบการรับเสียง 3 แบบด้วยกัน คือ Omnidirectional, Bi-directional และ Cardioid ซึ่งแต่ละแบบแตกต่างกัน เลือกใช้งานตามลักษณะของงาน
รูปแบบการรับเสียง Omnidirectional เป็นรูปแบบการรับเสียงรอบทิศทาง ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็รับเสียงได้ จึงเหมาะกับการนั่งคุยหลาย ๆ คน
Bi-directional รูปแบบการรับเสียงจากด้านหน้าและด้านหลังของไมค์ แต่ด้านข้างจะถูกลดทอนเสียงลงไป จึงเหมาะกับการนั้งพูดคุย สัมภาษณ์กันสองคน และรูปแบบการรับเสียง Cardioid ที่เน้นการรับเสียงจากด้านหน้า ลดทอนเสียงที่มาจากด้านข้างและด้านหลัง จึงเหมาะกับงานพูดคนเดียว
5. ระบบการเชื่อมต่อของไมค์
ระบบการเชื่อมต่อของไมโครโฟนก็ควรระวังในการซื้อด้วย ไมค์ที่เลือกมาใช้เป็นเชื่อมต่อแบบ USB หรือ ต่อสาย XLR เลือกตามความถนัดในการใช้งาน ซึ่งไมโครโฟนที่เชื่อมต่อแบบ USB ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานง่าย เพียงแค่ Plug&Play ก็สามารถใช้งานได้ทันที ซึ่งการเชื่อมต่อผ่าน USB รองรับเข้ากับคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ไอแพด มือถือ ได้เลย สำหรับใครที่พึ่งเริ่มต้นทำพ็อดคาสท์ ใช้แค่ไมค์แบบ USB ก็เพียงพอแล้ว
6. เลือกไมโครโฟนที่งบประมาณเหมาะสม ตอบโจทย์การทำงานได้
สำหรับมือใหม่หากจะเลือกไมค์ตัวแรก ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะไมค์ในตลาดมีสเปคมากมาย แถมการใช้งานก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้นไมค์ MAONO USB MICROPHONE AU-902 จึงเป็นไมค์ที่ตอบโจทย์สำหรับมือใหม่ พึ่งหัดทำพ็อดคาสท์ เนื่องจากเป็นไมค์คอนเดนเซอร์ตั้งโต๊ะ เสียงดีคมชัด มีความไวในการรับเสียงสูง ราคาคุ้มค่า ทั้งยังสามารถรับเสียงได้ในช่วงคลื่นความถี่กว้างตั้งแต่ 20Hz~20kHz
สามารถรับเสียงที่อยู่ในคลื่นเสียงแบบทุ้มหนักหรือเสียงแหลมสูง เสียงเครื่องดนตรี รวมทั้งเสียงกระทบที่เกิดขึ้นเพียงเบา ๆ ซึ่งรูปแบบของการรับไมค์แบบ Cardioid ช่วยให้เสียงที่ได้เป็นเสียงที่ต้องการมาจากด้านหน้าของตัวไมค์เท่านั้น ทั้งยังลดการรับเสียงที่มาจากทิศทางอื่น จึงลดเสียงรบกวนได้ดี จึงเป็นไมค์คุณภาพสูง ในราคาคุ้มค่า เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อบันทึกเสียง การร้องเพลง เล่นดนตรี การพูดคุยและการทำ Podcast