5 วิธีจัดรายการพ็อดคาสท์ ให้เสียงชัด น่าฟัง สะกดผู้ฟังให้คล้อยตาม ทำตามได้อย่างง่าย

ในปัจจุบันการจัดรายการ Podcast, Live Streaming ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหนก็ตาม ซึ่งสำหรับมือใหม่อยากจะมีรายการพ็อดคาสท์เป็นของตัวเองบ้าง แต่ก็ไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน อัดเสร็จแล้วอยากให้มีคนฟัง ดังนั้นผมก็ได้รวบรวมข้อมูลมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตามกัน ซึ่งมี 5 วิธีจัดรายการพ็อดคาสท์ได้ง่าย ๆ ให้เสียงชัด น่าฟัง สะกดผู้ฟังให้คล้อยตาม ทำตามได้ง่าย ๆ

1. ซื้อไมค์ดี ๆ คุณภาพเสียงเป็นเรื่องสำคัญ

อุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างมากในการทำพ็อดคาสท์นั้นก็คือ เครื่องบันทึกเสียง ซึ่งก็มีเครื่องบันทึกเสียงหลายแบบให้เลือกใช้งานทั้ง ไมโครโฟนบันทึกเสียงแบบ USB สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือเชื่อมกับอุปกรณ์มิกซ์เสียง, ไมค์ที่ติดมากับคอมพิวเตอร์, ไมค์โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ สำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้นสามารถใช้จัดพ็อดคาสท์ได้

ถ้าจะให้ดีควรเลือกลงทุนกับไมโครโฟนดี ๆ สักตัวไปเลย เพราะไมค์ทั่วไปบางตัว เสียงไม่ชัด เสียงติดขัดบ้าง หรือมีเสียงแทรกรบกวนจากรอบข้าง จะทำให้ผู้ฟังหงุดหงิด ไม่ทนฟังต่อ แตกต่างกับไมค์แบรนด์คุณภาพที่เสียงนุ่มนวล น่าฟัง อย่างเช่นแบรนด์ Maono ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น เก็บเนื้อเสียงได้ครบ ลดเสียงรบกวนรอบข้าง คุณสมบัติเหล่านี้จะทำให้เสียงคมชัด เคลียร์ สะกดผู้ฟังให้คล้อยตามและเพลิดเพลินไปกับเสียงพูด

2. อุปกรณ์ที่ต้องมี

นอกจากจะมีคอมพิวเตอร์และไมโครโฟนบันทึกเสียงดี ๆ แล้ว ควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากยิ่งขึ้น เช่น หูฟัง เครื่องมิกซ์เสียง ฯลฯ ที่จะช่วยมอนิเตอร์เสียงของผู้พูดได้ตามที่ต้องการ และตัวมิกซ์เสียงที่สามารถปรับแต่งเสียงไมโครโฟนให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงเอฟเฟคการใช้งานด้านเสียงที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้งานมีความน่าสนใจ และสร้างความบันเทิงให้กับผู้ฟังมากยิ่งขึ้น

3. โปรแกรมตัดแต่งเสียง

การทำพ็อดคาสท์จำเป็นต้องมีตัวช่วยที่จะทำให้เสียงน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งตัวช่วยนั้นก็คือโปรแกรมตัดแต่งเสียง ก็มีโปรแกรมให้เลือกใช้งานเยอะมาก โปรแกรมที่แนะนำ คือ Garageband เป็นโปรแกรมที่มีให้สำหรับผู้ใช้งาน Mac Os ด้วยความสะดวกและง่านในการใช้งาน เพียงเชื่อมต่อกับไมค์ก็สามารถบันทึกเสียงได้เลย สามารถหยุดและตัดระหว่างที่อัดได้ แต่ข้อเสียของโปรแกรมตัวนี้จะเป็นเรื่องไฟล์ที่ค่อนข้างใหญ่ แต่คุณภาพเสียงดีแน่นอน

4. เตรียมเนื้อหาให้พร้อม

พูดติดขัด ฟังไม่ชัดไม่ลื่นไหล หรือเรื่องเล่าออกทะเล จึงจำเป็นต้องเตรียมเนื้อหาให้น่าสนใจ ตั้งแต่หัวข้อที่จะพูด จนถึงปิดจบในตอนท้ายอย่างสวยงาม โดยทำออกมาในรูปแบบของสคริปต์ แล้วอ่านฟังเลยจะได้ลื่นไหล ไม่ติดขัด และเล่นเสียงให้ใช้เสียงเบา และเสียงหนักสลับกันไป เพื่อให้เนื้อเรื่องน่าติดตามมากยิ่งขึ้น

5. อัปโหลดและเผยแพร่เนื้อหา

พื้นที่ให้บริการสำหรับลงไฟล์เสียงมีหลายเจ้า แต่ตัวที่แนะนำจะเป็น Anchor เป็นเว็บไซต์และแอปพลิเคชันสำหรับทำพอดแคสต์ ใช้ได้ทั้งฟังพ็อดคาสท์ อัปโหลดพอดแคสต์ สร้างสถานี้พ็อดคาสท์ สามารถใช้แอปอัดเสียง ใส่เพลงและอัปไฟล์เสียงเป็น

พ็อดคาสท์ได้เลย นับว่าครบจบในที่เดียว ที่น่าสนใจของ Anchor คือบริการฟรี ไม่ต้องเสียเงินสักบาท เหมาะมากสำหรับมือใหม่ที่อยากทดลองทำพอดแคสต์ เหมือนกับเขียนบล็อก นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับบริการฟังพ็อดคาสท์แพลตฟอร์มอื่นได้อย่างง่ายดาย

MAONO นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย COB MEDIA ประกันศูนย์ไทย จัดจำหน่ายที่ร้านกล้องชั้นนำทั่วประเทศ​

สมัครรับโปรโมชั่น

เพิ่มเพื่อน LINE@ เพื่อรับข่าวสารการเปิดตัวสินค้าและโปรโมชั่น

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *