อุปกรณ์เสียงสตูดิโอสำหรับมืออาชีพ
5 อุปกรณ์เริ่มต้นทำพ็อดคาสท์ให้เสียงดี น่าฟัง เพื่อให้ได้งานคุณภาพแบบมืออาชีพ อ่านจบเริ่มทำได้ทันที
หลาย ๆ คนคงรู้จัก Podcast ไม่มากก็น้อย เป็นสื่อที่น่าสนใจและเป็นแสดีมาก ด้วยรูปแบบที่คล้ายกับรายการวิทยุออนไลน์ที่น่าสนใจ ที่มีเรื่องราวและเนื้อหาที่ตอบโจทย์ผู้ฟัง สามารถทำกิจกรรมอื่นควบคู่ไปได้ด้วย ทั้งยังสามารถฟังได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งเพื่อน ๆ ก็อาจจะอยากทำพ็อดคาสท์เป็นของตัวเองบ้าง แต่ไม่รู้จะต้องเริ่มยังไง และมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ดังนั้นวันนี้ก็มี 5 อุปกรณ์ทำพ็อดคาสท์สำหรับมือใหม่ เพื่อให้ได้งานคุณภาพแบบมืออาชีพ อ่านจบแล้วเริ่มทำได้ทันที
1. ไมโครโฟนอัดเสียง
อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการทำพ็อดคาสท์ ก็คือ ไมโครโฟน หากจะใช้ไมโครโฟนธรรมดา ๆ หรือไมค์จากหูฟังมือถือเสียงที่ได้ไม่คุณภาพเท่ากับไมโครโฟนอัดเสียง ซึ่งเรื่องของคุณภาพเสียงนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการอัดเสียงเลยก็ว่าได้ ถ้าหากใช้ไมค์อัดเสียงคุณภาพก็จะได้เสียงที่ฟังชัดและมีคุณภาพ แถมยังตัดเสียงรบกวนอีกด้วย ซึ่งไมโครโฟนคุณภาพที่ผมจะแนะนำ MAONO AU-A03T DESKTOP PODCASTING เป็นไมโครโฟนตั้งโต๊ะคุณภาพ รับเสียงไว ให้เสียงชัดเจน เก็บเสียงได้ครบทุกย่านเสียง
ด้วยคุณสมบัติของไมค์ที่รับเสียงได้แบบ Cardioid คือ รับเสียงได้จากด้านหน้าไมค์ และลดเสียงรบกวนที่มาจากทิศทางอื่น ทำให้ได้เสียงที่ต้องการ และได้คุณภาพเสียงที่ชัดเจนอย่างเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับการนั้งจัดรายการพ็อดคาสท์
2. หูฟังสำหรับเช็คเสียง
อุปกรณ์ที่มาควบคู่กับไมโครโฟน ก็คือ หูฟัง ซึ่งหูฟังจะช่วยในเรื่องการเช็คคุณภาพของเสียง การ Monitor เสียง ไม่ว่าจะเป็น โทนเสียงความดังให้มีความเหมาะสม เพื่ออรรถรสและลื่นหูน่าฟังของผู้รับฟัง ปัจจุบันแบรนด์ที่ผลิตหูฟังมีให้เลือกใช้งานหลากหลายแบรนด์หนึ่งในนั้น คือ แบรนด์ MAONO นอกจากจะผลิตไมโครโฟนคุณภาพแล้ว ยังผลิตและพัฒนาหูฟังอีกด้วย ซึ่งหูฟังที่แนะนำจะเป็นรุ่น AU-MH501 PROFESSIONAL STUDIO DJ MONITOR HEADPHONES เป็นหูฟัง MONITOR เสียงคมชัดทุกรายละเอียด พับเก็บและหมุนได้ 360 องศา สามารถพับเก็บเพื่อใช้งานได้นอกสถานที่ ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์เพื่อสวมใส่สบาย ไม่มีอาการปวดหลังจากสวมใส่เป็นเวลานาน มาพร้อมกับแจ็ค 3.5 มม. ที่ใช้งานได้อเนกประสงค์ทั้งพีซี, แล็ปท็อป, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, iPad เมื่อทำงานกับไมค์ MAONO AU-A03T ก็จะได้ทั้งเสียงที่คุณภาพ และควบคุมคุณภาพเสียงได้ตามที่ต้องการ เพื่อการทำพ็อดคาสท์ได้แบบมืออาชีพ
3. คอมพิวเตอร์
แน่นอนว่าการตัดเสียงที่เราอัดมา และการลงเสียงจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ เพื่อการตัดเสียงที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของเรา ทั้งยังช่องเสียงสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของเราได้ ที่สามารถทำได้เลยไม่ต้องย้ายไฟล์จากมือถือมาลงคอมพิวเตอร์ให้วุ่นวาย แต่หากไม่สะดวกก็สามารถเริ่มจากตัดต่อในมือถือได้เช่นกัน แต่เมื่อมีผู้ติดตามเยอะขึ้นก็ค่อยลงทุนกับคอมพิวเตอร์และไมค์คุณภาพ เพื่อให้ตัดต่อเสียงที่มีคุณภาพและเพิ่ม WorkFlow ในการทำงาน
4. โปรแกรมบันทึกเสียง
การทำพ็อดคาสท์ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการตัดแต่งเสียง ซึ่งโปรแกรมตัดแต่งเสียงมีให้เลือกเยอะเลย แต่ถ้าให้แนะนำตัดแต่งเสียงระดับเบสิกเลยที่ไม่ต้องลงทุน มี 3 โปรแกรม คือ Garageband , Audacity และ Moo0 voice recorder
เริ่มจากโปรแกรมแรกอย่าง Garageband โปรแกรมที่ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Apple รู้จักกันดี เพราะเป็นโปรแกรมฟรีที่ติดมากับเครื่อง Mac โดยโปรแกรมนี้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับไมโครโฟน แล้วบันทึกเสียงได้เลยสามารถหยุดตัดระหว่างอัดได้ ซึ่งโปรแกรมจะให้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ ช่วยให้ได้เสียงคุณภาพแน่นอน
Audacity ฟังก์ชั่นการทำงานคล้าย ๆ กับ Garageband เลย คือบันทึกเสียงได้ และอัดเสียงเพิ่มเข้าไปได้ แต่ไฟล์จะมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งทำให้ไม่กินทรัพยากรเครื่อง จะให้ไฟล์เสียงระดับกลาง เพียงพอสำหรับทำพอดแคสต์
moo0 voice recorder เป็นโปรแกรมบันทึกเสียงสามารถทำได้ทุกอย่างที่โปรแกรมบันทึกเสียงควรจะมี ที่สำคัญรองรับภาษาไทยอีกด้วย ทั้งหมดนี้เป็นโปรแกรมฟรี แต่สามารถทำได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มเอฟเฟค ตัดเสียง เพิ่มเสียง และอื่น ๆ
5. ช่องทางการสำหรับปล่อยไฟล์ Podcast
แพลตฟอร์มที่ใครหลาย ๆ คนคุ้นหูสำหรับฟังพ็อดคาสท์อย่าง Spotify, Apple Podcast หรือ Google Podcast ซึ่งเป็นสำหรับคนทำพ็อดคาสท์นั้นไม่ได้อัพโหลดไฟล์เสียงลงแอพโดยตรง แต่จะต้องนำไฟล์เสียงที่ได้ไปลงใน Podcst Hosting ซะก่อน เช่น Soundcloud, Podbean, Anchor ซึ่งแต่ละแอพมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป เพื่อน ๆ เลือกใช้งานได้เลย แล้วเชื่อมต่อไปยัง ยังแพลตฟอร์มยอดนิยม เช่น Podcast apple, iTunes, Spotify เป็นต้น อุปกรณ์ทั้งหมดก็พร้อมสำหรับทำพ็อดคาสท์แล้ว เหลือก็เตรียมเนื้อหาน่าสนใจ เพียงเท่านี้เพื่อนก็สามารถทำพอดแคสท์ได้แบบมืออาชีพแล้ว